อุปกรณ์ไฟสตูดิโอสำหรับมืออาชีพ
5 เรื่องสำคัญเกี่ยวกับไฟสตูดิโอ ที่มือใหม่มักจะมองข้าม
5 เรื่องสำคัญเกี่ยวกับไฟสตูดิโอ ที่มือใหม่มักจะมองข้าม มือใหม่ที่มีสตูดิโอถ่ายภาพ หรือสตูดิโอเพื่อทำชาแนล ทำงานไลฟ์แล้ว ความสว่างในสตูดิโอที่อาจจะใช้แสงจากหน้าต่างเป็นหลักแล้วก็ยังมีไฟสตูดิโอที่ช่วยในการเพิ่มแสงสว่าง และเพื่อการตกแต่งอีกด้วย
1. ความเที่ยงตรงของสีไฟ
ปกติแล้วไฟ LED ที่เราใช้เป็นไฟสตูดิโอจะสามารถวัดความเที่ยงตรงของสีไฟได้ โดยจะวัดจากค่าได้จาก CRI/TLCI (ปกติค่านี้จะแสดงในส่วนของคุณสมบัติของไฟ) โดยจะอ้างอิงจาก การเทียบสีของวัตถุที่ตาเราเห็นมีความใกล้เคียงสีที่อ้างอิงจากแสงอาทิตย์เวลากลางวันมากที่สุด ซึ่งถ้าค่า CRI = 100 หมายถึงสีของวัตถุที่ตาเราเห็นมีความใกล้เคียงกับสีเมื่อเวลาเราเห็นสีของวัตถุจากแสงธรรมชาติ หรือแสงอาทิตย์เวลากลางวันมากที่สุด ดังนั้นถ้าเลือกไฟที่มีค่า CRI สูง แสงที่ได้ก็จะช่วยให้การอ้างอิงสีสินค้าแม่นยำ สีผิวเที่ยงตรงสวยดูเป็นธรรมชาตินั่นเองครับ
อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจของความเที่ยงตรงของสีไฟ คือการให้สีที่แม่นยำ โดยไฟสตูดิโอบางรุ่นสามารถปรับสีให้เลียนแบบแสงในธรรมชาติได้โดยปรับค่าได้ตามค่าอุณหภูมิสี มีหน่วยเป็นเคลวิน (K) เช่น แสงสีส้มช่วงเย็น จะอยู่ในช่วง 2000-3000 K แสงสีขาวกลางวันจะอยู่ในช่วง 4500-6000 K โดยไฟสตูดิโอคุณภาพจะให้ค่าที่เที่ยงตรงแม่นยำ กำหนดสีได้ตามอุณหภูมิสีที่ต้องการ ซึ่งง่ายต่อการทำงาน การควบคุม ทั้งยังใช้งานร่วมกับไฟตัวอื่นได้ง่ายเพียงกำหนดค่าสีของไฟให้ตรงกัน เท่านั้นเอง
2. ชุดกระจายแสงที่เหมาะสม
การจัดสตูดิโอ เรื่องความสว่างเป็นเรื่องหลักที่ต้องให้ความสนใจ ซึ่งการใช้ชุดกระจายแสงที่เหมาะสม จะช่วยลดจำนวนของไฟที่จะต้องใช้งาน เพราะชุดกระจายแสง Light modifier หรือแผ่นสะท้อน ที่ช่วยสะท้อนแสงจากไฟ ก็จะช่วยเพิ่มความสว่างในจุดที่ต้องการได้ หรือการเสริมแสงและการจัดเงาให้ดูมืออาชีพได้เช่นกัน
นอกจากนี้ การเลือกใช้ Light modifier ที่เหมาะสมก็ช่วยสร้างบรรยากาศในการถ่ายทำ และยังช่วยให้ได้รูปบบแสงที่สวยในแบบที่ต้องการได้ เช่น ความนุ่ม ความกระด้างของแสง ความเข้มของเงา ซึ่งไฟสตูดิโอคุณภาพสูงจะมีเม้าท์แบบ Bowens ที่สามารถปรับเปลี่ยน Light modifier ได้ทั้งแบบ Lantern, Softbox, Fresnel และ Projection attachtment มือใหม่จึงสามารถเลือกใช้งานได้ เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานมากที่สุด
3. กำลังไฟที่เพียงพอกับพื้นที่ ที่เราใช้งาน
ขนาดของห้อง พื้นที่ในการทำงาน มีผลในการเลือกใช้ไฟ เพราะความสว่างของไฟมีให้เลือกให้สว่างมากน้อย หากต้องการไฟที่สว่างมากให้เลือกที่ให้กำลังไฟสูง ความเข้มแสงสูง โดยมีหน่วยเป็น ลักซ์ ซึ่งถ้าอยากได้ไฟที่มีความสว่างสูง ให้เลือกดูไฟที่มีจำนวนลักซ์สูง กำลังไฟ (วัตต์) สูง ถ้าหากต้องการใช้ไฟเพื่อให้ความสว่างโดยรวม เป็นไฟหลัก ในสตูดิโอขนาดเล็ก พื้นที่ประมาณ 20 ตารางวา
อาจจะเลือกจากไฟที่มีความสว่างสูงเช่น Nanlite Forza 150, 300 หรือถ้าอยากใช้งานเพื่อให้ความสว่างเฉพาะจุด ก็เลือกรุ่นที่ให้ความสว่างน้อยลงมาเช่น Nanlite Forza 60, 60B หรือใช้เป็นไฟเสริมในพื้นที่จำกัด Nanlite Compac เป็นไฟที่ให้ความสว่างสูง ปรับแสงนุ่มในตัว และช่วยประหยัดพื้นที่ในการใช้งานได้ดี
4. ความแข็งแรงของขาตั้งสำคัญมาก
อย่าลืมว่าไฟสตูดิโอที่ใช้และ Light modifier ที่ใส่เข้าไป ก็จะมีน้ำหนักของมันอยู่ ดังนั้นขาตั้งไฟที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักของอุปกรณ์ไฟ ก็จะต้องแข็งแรง และสามารถรับน้ำหนักของไฟและส่วนประกอบอื่น ๆ ได้ดี ตั้งอย่างมั่นคง ซึ่งหากขาตั้งไฟไม่แข็งแรงและรับน้ำหนักไม่ไหวระหว่างการทำงาน ก็จะสร้างความเสียหายต่ออุปกรณ์อื่นและอาจจะเป็นอันตรายต่อผู้ใช้หรือบุคคลรอบข้างด้วย
5. ราคาไม่ต้องแพงสุดเสมอไป
ไฟสตูดิโอคุณภาพไม่จำเป็นต้องเลือกที่มีราคาแพงที่สุดเสมอไป เพราะการใช้งานของแต่ละคนแตกต่างกัน มือใหม่สามารถเลือกใช้ไฟที่เพียงพอต่อการใช้งานได้ เช่น Nanlite FS Series จะเน้นใช้งานเพื่อเพิ่มความสว่าง และสำหรับ Nanlite Forza จะให้แสงสว่างและน้ำหนักเบาปรับสีตามอุณหภูมิสี และปรับความสว่างได้ ซึ่งให้จะใช้งานได้แบบมืออาชีพ ส่วนมือใหม่ที่อยากเริ่มต้น ก็สามารถเริ่มต้นได้จาก Nanlite FS Series ก็ได้ ประหยัด ควบคุมงบได้อีกด้วย