อุปกรณ์ไฟสตูดิโอสำหรับมืออาชีพ
เทคนิคจัดแสงไฟสตูดิโอ 5 แบบ ตามทิศทางของแสงธรรมชาติ (แสงพระอาทิตย์) ด้วยไฟ NANLITE
ทิศทางของแสงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างมากในการถ่ายภาพ เพราะทิศทางของแสงที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อมิติของภาพ หรือสร้างอารมณ์ของภาพที่แตกต่างกัน ดังนั้นหากอยากได้ภาพสวย ก็ต้องกำหนดทิศทางของแสงได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยเราสามารถแบ่งทิศทางของแสงออกเป็น 5 ทิศทาง มีอะไรบ้างไปดูกัน
1.ทิศทางจากด้านบน
ใช้งานถ่ายภาพนิ่ง ถ่ายวิดีโอ ซีนอารมณ์ ต่างๆ แสงที่ได้มาจากด้านบน ส่องสว่างลงมากระทบกับตัวแบบ จะทำให้เกิดเงาใต้ตา จมูก และใต้คางของตัวแบบ ทำให้ดูลึกลับและน่าค้นหา หรือเงาตกกระทบทางด้านล่างของวัตถุ
แสงในทิศทางนี้จะไม่นิยมใช้ถ่ายงาน แต่หลายๆครั้งก็นำมาใช้ได้ โดยมักใช้ในฉากที่ต้องการให้ตัวแบบมีเงาขึ้นที่ผม เหมาะกับการใช้กับถ่ายรีวิวสินค้า ทำให้เห็นรายละเอียดของสินค้าชัดเจน
2.ทิศทางแสงจากด้านข้าง
เป็นอีกหนึ่งทิศทางแสงที่ได้รับความนิยมมาก โดยทิศทางของแสงตามทิศทางของแสงธรรมชาติเป็นยามบ่าย ซึ่งแสงทำมุม 45 ,60, 90 องศา แสงส่องสว่างมาจากด้านข้างวัตถุ สามารถวางไฟไว้ทั้งด้านซ้ายและด้านขวาก็ทำได้ แสงส่องออกมาจากด้านข้างนี้ ทำให้ตัวแบบได้รับแสงสว่างได้ทั่วด้านหน้า วัตถุจะไม่มีเงาทำให้ได้ภาพมีลักษณะเรียบแบนไม่มีความลึก ความหนา เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่ต้องการเน้นให้เห็นรายละเอียด
แสงจากด้านข้างมีจุดเด่นในด้านการแสดงรูปทรงของแบบได้ดี แต่จะเสียรายละเอียดของภาพไป โดยเฉพาะหากเป็นไฟที่สว่างมาก ก็จะทำให้มีส่วนเป็นมืดกับส่วนสว่างที่ตัดกันมาก ซึ่งเรียกว่า มีคอนทราสต์สูง
3.ทิศทางแสงจากด้านหลัง
ไฟที่ทำให้เกิดแสงที่ขอบตัวแบบ และทำให้ตัวแบบดูเด่นชัดขึ้นมา หรือทำให้มองเห็นวัตถุแยกออกจากพื้นฉากหลังชัดเจน โดยตำแหน่งที่วางไฟอยู่ด้านหลังของตัวแบบ และควรอยู่สูงกว่าตัวแบบ บางครั้งก็จะเรียกว่าแสงไฟนี้ คือ “Rim light”
4.ทิศทางจากด้านหน้า
แสงที่ส่องจากด้านหน้าของวัตถุหรือตัวแบบ แสงด้านหน้าช่วยให้เกิดประกายสะท้อนบนวัตถุ โดยเฉพาะวัตถุที่มีผิวเรียบแบน จะได้ภาพถ่ายที่ชัดเจน เพราะตัวแบบได้รับแสงสว่างได้ทั่วด้านหน้า วัตถุจะไม่มีเงาทำให้ได้ภาพลักษณะเรียบแบนไม่มีความลึก เหมาะกับการถ่ายภาพที่ต้องการให้เห็นวัตถุเรียบและแบน
5.ทิศทางจากด้านล่าง
แสงที่ส่องมาจากด้านล่างของตัวแบบ จะใช้เปิดเงาด้านล่างของตัวแบบ หรือใช้ในงานถ่ายฉากสยองขวัญ เพื่อเปิดเงาใต้คาง ผีหลอก หรือเปิดเงาใต้คาง แม้จะไม่นิยมใช้แต่ก็สามารถจัดแสงให้ใช้งานได้ตามความเหมาะสม