จัดแสงให้สวยด้วยไฟดวงเดียว แบบไม่มี Softbox !! EP.2 งบจำกัดแต่ได้คุณภาพเกินคาด !!

คลิปวิดีโอที่แล้วเราได้นำเสนอการจัดแสงแบบขั้นพื้นฐาน Three-Point Lighting ด้วยไฟเพียงดวงเดียวกันไปแล้ว ซึ่งจะเน้นไปที่ไฟ Rim light สำหรับคนที่ชอบให้เกิดขอบและแยกตัวแบบออกจากฉากหลัง ทำให้ตัวแบบที่เด่นชัดมาก แต่ใน EP นี้เราจะแนะนำการจัดไฟสำหรับคนที่ต้องการให้แสงที่นุ่มนวล และละมุนมากยิ่งขึ้น โดยใช้ไฟเพียงแค่ดวงเดียว และไม่มี Softbox !!

1. ไฟสตูดิโอกำลังไฟสูง ให้สีที่แม่นยำ กระจายแสงได้ดี

ในปัจจุบันไฟสตูดิโอมีให้เลือกมากมาย สิ่งสำคัญอันดับแรกก็คือเรื่องของกำลังไฟ ให้ความสว่างเพียงพอ สีตรงไม่ผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง และราคาต้องไม่แรงจนเกินไปด้วย โดยเราแนะนำรุ่น FS-150 เป็นไฟสตูดิโอคุณภาพสูง รุ่นประหยัด ที่ให้แสงสว่างสีขาวเเบบ Daylight (5600K) โดยให้เเสงที่มีความเเม่นยำสีสูง โดยให้ค่า CRI ถึง 96 สีผิว และวัตถุไม่เพี้ยน ออกแบบให้มีการกระจายแสงได้ดียิ่งขึ้น เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นทำโฮมสตูดิโอ ไลฟ์รีวิวสินค้า รวมถึงการทำงาน Production

2. ติดตั้งขากับไฟสตูดิโอ ปรับทิศทางของแสงทะแยงขึ้นไปที่โฟม DIY เพื่อให้ได้แสงนุ่มละมุน

อุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้เลย คือ ขาตั้ง ใช้สำหรับตั้งไฟ ส่วนโฟมจะใช้ขาตั้งแบบ C-stand เพราะสามารถยืดขึ้นลงได้ ขาตั้งไฟสามารถใช้ได้ทุกแบรนด์ในราคาประหยัด ใน Ep ก่อนหน้าจะตั้งไฟไว้ข้างหลัง Rim light แล้วส่องไฟมาด้านหน้า ทำให้เกิดแสงที่ขอบของตัวแบบ

ในครั้งนี้เราจะตั้งไฟ FS-150 วางในตำแหน่งข้างๆตัวแบบ และปรับทิศทางของแสงให้ทะแยงขึ้นไป ที่สำคัญตัวแบบจะต้องไม่โดนแสงจากไฟโดยตรง เพราะจะทำให้แสงจ้าจนเกินไป จากนั้นให้ไฟส่องไปที่โฟม DIY ซึ่งโฟมจะทำหน้าที่สะท้อนแสงลงมายังตัวแบบเอง ทำให้ได้แสงที่นุ่มนวล ละมุนยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องใช้ Softbox เลย

3. จำลองไฟหลัก ด้วยแผ่นโฟม DIY ให้แสงสว่างที่นุ่มนวลยิ่งขึ้น

โดยทั่วไปแล้วจะใช้แผ่น Reflex หรือแผ่นสะท้อนแสงเข้ามาช่วย แต่สำหรับใครที่ประหยัดงบ ก็ลองมาใช้แผ่นโฟมมีสีขาว ราคาเพียงไม่กี่บาท โดยตั้งให้เป็นไฟหลัก ให้รับแสงส่องมาจากไฟ FS-150 ที่อยู่ตรงข้าม และสะท้อนไปยังตัวแบบ โฟมจะต้องทำมุม 45 องศา ทำให้ได้แสงที่นุ่มนวล เหมือนใช้ Softbox ราคาแพงๆ

4. ตั้งโฟมไว้กับโต๊ะ สะท้อนแสงจากโฟมแผ่นแรก เพื่อลบเงา

ตั้งโฟมไว้กับพื้นหรือวางไว้บนโต๊ะ ปรับทิศทางโฟมให้เฉียงเข้าหาตัวแบบ แสงจะเดินทางจากโฟมแผ่นแรก จากนั้นโฟมแผ่นที่สองจะสะท้อนแสงไปที่ใต้คางของตัวแบบ เพื่อเปิดรายละเอียดหรือลบเงาใต้คาง

5. เพิ่มสีสันให้กับ Background ด้วยโคมไฟที่มีอยู่ในบ้าน

ในการเติมไฟให้กับฉากหลัง จะช่วยให้งานวิดีโอมีสีสันและมิติมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่แล้ว เพื่อประหยัดงบประมาณได้ เช่น โคมไฟสีส้ม-ขาว หากมีงบเหลือก็สามารถซื้อไฟ RGB มาใช้ได้ ซึ่งแนะนำเป็น Litolite 5C เพราะเป็นไฟขนาดเล็กน้ำหนักเบา ให้ความสว่างสูง สีแม่นยำ แถมมีแม่เหล็กสามารถติดตั้งได้ทุกที่ เพื่อเพิ่มสีสันได้หลากหลายยิ่งขึ้น

สมัครรับโปรโมชั่น

เพิ่มเพื่อน LINE@ เพื่อรับข่าวสารการเปิดตัวสินค้าและโปรโมชั่น

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *